เมษายน 26, 2024

การ์ดแสดงผล display card

การ์ดแสดงผล (Graphic Card, Display Card หรือ VGA Card) คือ อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณทางดิจิตอลให้เปลี่ยนเป็น
 สัญญาณภาพที่แสดงผลผ่านจอคอมพิวเตอร์ ชนิดของการ์ดแสดงผลจะเป็นตัวกำหนดความเร็วในการแสดงผล ความละเอียดและความคมชัด
 ของกราฟฟิก รวมทั้งจำนวนสีที่สามารถแสดงผลด้วย

   การ์ดแสดงผลจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่ไม่ซับซ้อนมากนักโดยส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนการ์ดจะมีข้อความอธิบาย ไว้ด้วย ซึ่งจะสนับสนุนช่องต่อแบบใดบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของการ์ดรุ่นนั้นๆด้วยสำหรับส่วนประกอบต่างๆ

ที่สำคัญก็คือชิปกราฟฟิกแรมบนตัวการ์ดพอร์ตเชื่อมต่อสายสัญญาณกับจอภาพ และอินเทอร์เฟสของการ์ด

รูปที่ 5.1 การ์ดแสดงผล

                 นอกจากนั้นการ์ดบางรุ่นยังมีช่องต่อต่าง ๆ ต่อไปนี้เพิ่มด้วย

                         ช่อง DVI สำหรับต่อกับจอภาพ LCD
                         ช่อง Video – in สำหรับรับไฟล์วิดีโอจากกล้องวิดีโอ
                         ช่อง Video-out สำหรับแสดง/นำไฟล์วิดีโอออกไปยังอุปกรณ์ภายนอก
                         ช่อง TV-out สำหรับต่อเข้ากับทีวี (เป็นการ์ดแบบ TV-Tunner )

รูปที่ 5.2 ช่องต่อต่าง ๆ ของการ์ดแสดงผล

                คอมพิวเตอร์รุ่นประหยัดในปัจจุบัน มักจะมีชิปสำหรับแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด หรือเรียกว่า Video on Board อยู่แล้ว ซึ่งส่วนเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่ออกมาทางด้านหลังของเมนบอร์ดก็จะมีเพียงพอร์ต VGA สำหรับต่อเข้ากับสายสัญญาณจากจอภาพเท่านั้น

2. ชิปแสดงผลจากค่ายอื่น ๆ

                นอกจากชิปแสดงผลยอดนิยมจากค่าย nVidia และ ATi แล้วยังมีผู้ผลิต จากค่ายอื่น ด้วย ซึ่งก็มุ่งเน้นตลาดในระดับที่แตกต่างกันไป
   ดังนี้

 3. คุณสมบัติอื่น ๆ ของการ์ดแสดงผล
             
นอกจากการพิจารณาตัวชิปบนการ์ดแล้ว ในการเลือกการ์ดแสดงผลมาใช้งานยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบ
 กันด้วย  เพื่อให้ได้การ์ดที่มีประสิทธิภาพตรงกับงานที่ทำอยู่ด้วย เช่น มาตรฐาน การเชื่อมต่อ ชนิดและขนาดของแรมบนการ์ด เป็นต้น

             3.1 มาตรฐานการเชื่อมต่อ  การแสดงผลในปัจจุบันใช้ระบบบัสเชื่อมต่อแบบ AGP ( Accelerated Graphic Port ) 
  ซึ่งมาแทนการเชื่อมต่อแบบ PCI โดยมาตรฐาน AGP นี้ทำให้ได้ความเร็วด้านการแสดงผลเพิ่มขึ้น เริ่มต้นที่ความถี่ 66 MHz
 (ในระบบบัส PCI ทำงานที่ความถี่33 MHz )  และความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 266 MB/s โดยปัจจุบัน พัฒนาไปถึงมาตรฐาน AGP 8x
 ที่มีความเร็วในการทำงานถึง 2 GB/s เลยทีเดียว

1) มาตรฐาน AGP 4x เป็นมาตรฐานที่มีใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน โดยรับ/ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วเป็น 2 เท่า
  ของ AGP 2x  โดยใช้ความกว้างบัส 32 บิต สามารถส่งข้อมูลได้ 4ครั้งใน 1 สัญญาณความถี่ ดังนั้นความถี่ในการส่งข้อมูลจะเท่ากับ
 266 MHz นั่นคือความเร็ว ในการรับส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 266 MHz x 4 Bytes = 1064 MB/s หรือ 1 GB/s

                       2) มาตรฐาน AGP 8x AGP 8x เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อใหม่ที่สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงสุด 2 GB/s
  ปัจจุบันเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ สนับสนุนมาตรฐานนี้กันบ้างแล้ว โดยการ์ดหลาย ๆ รุ่น เช่น ของ WinFast ที่ใช้ชิปกราฟฟิก
 GeForce FX 5800 หรือการ์ดของ Gigabyte ที่ใช้ชิปกราฟฟิก ATi Radeon 9000 Pro ก็รองรับมาตรฐาน AGP 8x ด้วย

               3.2 หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล  การทำงานของการ์ดแสดงผลนั้น มีอยู่ 2 โหมด คือใหมด Text และโหมด
  Gaphic ซึ่งปัจจุบัน ในการทำงานบน Windows นั้นเป็นการแสดงผลในแบบโหมด Graphicซึ่งหน่วยความจำบนการ์ดจะคอยรับข้อมูล
 ที่มาจากซีพียูถ้าหน่วยความจำ มากก็จะรับข้อมูลจากซีพียูมากช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้น

                 การพิจารณาหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลนั้น สิ่งที่ควรดูมากที่สุดก็คือเรื่องของประเภทแรม
   และขนาดแรม   แรมที่ใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันมีตั่งแต่ 32-128 MB ซึ่งขนาดของแรมที่มากก็จะช่วยให้คุณภาพ
 การ์ดแสดงผลของการ์ดสูงขึ้นตามไปด้วย  สำหรับชนิดของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันนั้นมีดังนี้  

                       1) แรมชนิด SDRAM เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้เป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง มีอัตราการส่งข้อมูล
  โดยประมาณ 528 MB  ยังคงมีการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบัน รองจากแรมชนิด DDR SDRAM ที่มักเป็นมาตรฐานของ
  การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ
                        2) แรมชนิด DDR SDRAM เป็นแรมที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลมากที่สุด
 ในปัจจุบัน  เพราะสามารถทำงานได้เร็วกว่าแรมชนิด SDRAM ถึง 2เท่าที่ความถี่เดียวกัน
                       3) แรมชนิด DDR2 เป็นแรมที่ถูกพัฒนาเพื่อทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ และจะนำไปใช้

                เป็นแรมปกติที่ทำงานร่วมกับซีพียูด้วย DDR2 จะเข้ามาช่วยลดปัญหาคอขวดในการรับส่งข้อมูล ระหว่างชิปกราฟฟิก
  ไปยังหน่วย ความจำบัฟเฟอร์ ทำให้สามารถแสดงผลได้รวดเร็วขึ้น รองรับการทำงานที่ความเร็วมากถึง 1 GHz

ข้อมูล : http://www.บริการซ่อมคอมพิวเตอร์.com